จำนอง กับ ขายฝาก ต่างกันอย่างไร

จำนอง กับ ขายฝาก ต่างกันอย่างไร


จำนอง”  คือ  สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้  โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง ส่วน “ขายฝาก”  คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด


ข้อแตกต่างที่สำคัญของสัญญาจำนองกับสัญญาขายฝากที่ควรทราบ
     1.  “จำนอง”  กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง จึงไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้ผู้รับจำนอง  แต่  “ขายฝาก”  กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากโอนไปยังผู้รับซื้อฝาก  จึงต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อฝาก
     2.  จำนอง หากไม่ชำระหนี้  ผู้รับจำนองจะฟ้องบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขาย ได้เงินมาชำระหนี้  แต่ขายฝาก ผู้ขายฝากต้องมาไถ่ภายในกำหนดเวลาใน สัญญา หากไม่มีเงินมาไถ่ภายในกำหนดเวลา  กฏหมายกำหนดว่าสามารถขยายเวลาขายฝากได้ กี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 10 ปี 
     3.  การจดทะเบียนจำนองเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ  1  จากวงเงินจำนอง  อย่างสูงไม่เกิน  200,000 บาท ,การจดทะเบียนขายฝากเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ  2  จากราคาประเมินทุนทรัพย์  และเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ และติดป้ายกำกับ , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

หนึ่งความเห็นตอบกลับที่ จำนอง กับ ขายฝาก ต่างกันอย่างไร

  1. วุฒิชัย เพ็งโคต พูดว่า:

    จำนองขายฝากได้สูงป่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.