เงินกู้เอกชน , สินเชื่อเอกชน….คืออะไร

เงินกู้เอกชน , สินเชื่อเอกชน….คืออะไร

     สินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เป็นเงินกู้ที่บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีรายได้ประจำ หรือ มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ หรือ ผู้มีอายุมากเกิน 50 ปี ผู้มีปัญหาเรืื่องติดเครดิตบูโร และอื่นๆ อีกทั้งความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสาร  การตรวจเชคเอกสารที่ละเอียด การตรวจประวัติการเงิน และการมีคุณสมบัติที่ไม่เพียงพอต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน จึงทำให้เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักในการเข้าถึงสินเชื่อดังกล่าว

    ดังนั้นทางออกของคนทั่วไป จึงมองหาแหล่งทุน, เงินกู้เอกชนหรือสินเชื่อเอกชน นั่นเอง จึงจำเป็นต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งก็คือโฉนดที่ดิน เป็นตัวค้ำประกันวงเงินกู้  ซึ่งมีหลายวิธีการดังต่อไปนี้

    1.  กู้เงินโดยลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ถือไว้  โดยอาจทำสัญญากู้เงินกันไว้ และให้ลูกหนี้เซ็นใบมอบอำนาจเปล่าๆ ไว้ให้เจ้าหนี้  ซึ่งกรณีนี้ใช้ในกรณี คนรู้จักกัน ญาติกัน เพื่อนกัน ไว้ใจกัน โดยที่จำนวนเงินกู้ไม่สูงมากนัก วิธีนี้ง่ายและสะดวก แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบี้ยว ก็มักจะสร้างปัญหาให้ปวดหัวกันทีเดียว

    2.  รับจดจำนองบ้านที่ดิน ที่สำนักงานที่ดิน  ลูกหนี้ต้องนำโฉนดที่ดินมาจดจำนองเป็นหลักประกันวงเงินกู้ให้แก่เจ้าหนี้ หรือ เจ้าของเงิน หรือนายทุน แต่นายทุนจะให้วงเงินกู้ต่ำกว่าธนาคาร เพราะหากลูกหนี้เบี้ยวเงินกู้ เจ้าหนี้จะต้องฟ้องบังคับจำนอง ให้ศาลสั่งนำหลักทรัพย์มาขายทอดตลาด แล้วจึงนำมาคืนหนี้จำนอง ซึ่งเสียเวลากว่าจะได้เงินคืน ดังนั้นนายทุนเงินกู้มักไม่นิยมทำ หรือ อาจรับจดจำนองให้ในกรณีพิจารณาเห็นว่าความเสี่ยงต่ำ ใช้วงเงินน้อย เช่นไม่เกิน 30% ของหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น

    3.  รับจดขายฝากบ้านที่ดิน  ที่สำนักงานที่ดิน  ลูกหนี้จะต้องนำโฉนดที่ดินจดทะเบียนขายฝากให้ผู้ให้กู้ หรือนายทุน โดยเสียค่าธรรมเนียมโอนและภาษีเท่ากับการซื้อขายจริง  เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้เจ้าหนี้โดยมีคำมั่นว่าซื้อคืนหรือไถ่คืนตามกำหนดที่ตกลงกันไว้  หากครบกำหนดแล้ว ลูกหนี้ไม่นำเงินตามที่ตกลงกันหรือที่เรียกกันว่าสินไถ่มาชำระคืน  กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของเจ้าหนี้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นการขายฝาก จึงมักจะได้วงเงินกู้สูง 40-70 %  แล้วแต่สภาพคล่องของทรัพย์

    4.  จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้นายทุน หรือเจ้าของเงิน โดยผู้กู้จะต้องโอนขายบ้าน หรือที่ดินให้แก่นายทุน โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้อีกฉบับ  เมื่อใดที่พร้อม หรือมีเงินแล้วก็จะ ซื้อกลับมา วิธีนี้มีข้อเสียก็คือ ต้องเสียค่าโอนทั้งขาย และซื้อกลับมาอีก ทั้งยังต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3 % รวมเบ็ดเสร็จ เสีย 5% + 5% +3.3 % รวม 13.3 % ซื่งผู้กู้ต้องชำระเองทั้งสิ้น กรณีเช่นนี้ ผู้กู้หวังจะได้ประโยชน์ในแง่ที่จะยื่นขอกู้จากสถาบันการเงิน โดยใช้ชื่อบุคคลอื่น เช่นญาติ  พี่ น้อง เพื่อน ยื่นขอกู้แทนได้นั่นเอง

   รับจดจำนองบ้านที่ดิน (ข้อ2), รับขายฝากบ้านที่ดิน (ข้อ3)  เป็นบริการของ รุ่งเรืองลิสซิ่ง ที่ให้ค่ะ   สัญญาทำถูกต้อง โปร่งใส ชัดเจน เราไม่ต้องการยึดทรัพย์ จึงใคร่ขอความกรุณาท่านลูกค้าให้มาไถ่ถอนทรัพย์ของท่านตามสัญญา ยินดีให้บริการ

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.